10 วิธีดูแลระบบ ออราเคิลให้มีประสิทธิภาพดี
1. การตรวจสอบภาพรวมการทำงานของฐานข้อมูล (Database Monitoring): เราสามารถใช้ผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า Oracle Enterprise Manager (OEM) หรือจะเป็นเครื่องมืออื่นๆเช่น SQL Plus ,TOAD,SQL Developer หรือ เครื่องมือมอนิเตอร์ต่างๆ เพื่อให้เราเห็นถึงอัตราการใช้งานทรัพยากรต่างๆบนเครื่องของเราเช่น CPU,Memory,Disk I/O ,ระบบเครือข่าย
2. Tune SQL Queries: การปรับแต่งSQL ส่วนนี้สำคัญมากน่าจะที่สุดเพราะมีผลโดยตรงกับการอ่านและเขียนข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่งหาเรา บริหารประสิทธิภาพของ SQL ได้ดีการทำงานโดยระบบต่างๆจะดีขึ้นทั้งหมด ซึ่งเราสามารถใช้ เครื่องมือ Oracle SQL Tuning Advisor เพื่อแนะนำว่า SQL คำสั่งใดที่ทำงานอยู่และควรจะปรับปรุงซึ่ง Advisor จะช่วยแนะนำ SQL ที่เพมาะสมเพื่อให้เรานำกลับไปปรับในระบบได้
3. Index Optimization: การบริหารหรือจัดการอินเด๊กซ์(Index) หรือดัชนี นับเป็นสิ่งที่หนึ่งที่เป็นผลกับประสิทธิภาพอย่างมาก ซึ่งหากทีมงานมีความเชี่ยวชาญเรื่อง การบริหารและสร้างอินเด๊กซ์ ก็สามารถสร้างผ่านSQL Plus หรือ tools ต่างๆได้เลย ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ออราเคิลมีเครื่องมือ Oracle Index Tuning Wizard ซึ่งจะช่วยในแนะนำและสร้าง Index ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ
4. Memory Configuration: หัวใจหลักและกลไกหลักนึงของการจัดการฐานข้อมูลออราเคิล คือการจัดการหน่วยความจำ โดยการกำหนดจำนวนหน่วยความจำที่เหมาะสมให้กับฐานข้อมูลมีความจำเป็น อย่างมาก ในบางครั้งมักพบว่า
 เซอร์เวอร์หรือเครื่องของลูกค้าที่ติดตั้งหน่วยความจำมาจำนวนมาก แต่ หากไม่เปิดการใช้งานหน่วยความจำให้เหมาะสม ก็จะทำให้เซอร์เวอร์ของเราทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพทั้งที่ซื้อเครื่องมาด้วยหน่วยความจำที่มีความจุสูง ในการปรับแต่งหน่วยความจำข้อให้พิจารณา 2 ตัวแปรนี้คือ SGA และ PGA
 SGA (System Global Area) และ PGA (Program Global Area) นี้สามารถทำได้โดยการแก้ไขไฟล์พารามิเตอร์เริ่มต้น (init.ora) หรือใช้ Enterprise Manage
5. Optimize Disk I/O: การบริหารเรื่องพื้นที่เก็บข้อมูล (Disk) หากองค์กรมีการใช้ RAID ด้วยก็สามารถปรับแต่งพารามิเตอร์เพื่อช่วยให้ทำงาน เร็วขึ้น ลองพิจารณาในส่วนของการแยกการจัดการเก็บ data files,log files, and temporary files onto different physical disks
6. Database Statistics: ควรสร้างสถิติของการใช้งานข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เนื่องจาก ออราเคิลจะใช้ สถิตินี้ในการ วิเคราะห์เพื่อเลือกใช้ Index ที่เหมาะสมในการทำงาน หากต้องการสร้างสถิติให้กับระบบฐานข้อมูลเราสามารถใช้คำสั่งนี้ได้ DBMS_STATS ได้
7. Materialized Views: อีกเครื่องมือที่สร้างมาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการอ่านข้อมูลได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งชื่อว่า materialized views แต่ข้อจำกัดของเครื่องมือนี้จะเหมาะมากๆกับข้อมูลที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เช่นประวัติการขายสินค้า ของ 3 เดือนที่แล้วเป็นต้น
8. Parallel Processing: เป็นการส่งคำสั่งเพื่อให้ Sql หนึ่งคำสั่งสามารถ แบ่งแยกการประมวลผลตาม Core ของ Cpu ได้ซึ่งความสามารถ นี้จะต้องอาศัยการ เพิ่ม hints เข้าไปใน sql Utilize parallel execution for CPU-intensive queries. This can be achieved by using hints in your SQL statements.
9. Tune Network Configuration: ปรับปรุง พารามิเตอร์ด้าน Network เพื่อส่งผลให้การติดต่อสื่อสาร ระหว่าง ไคลเอ็นท์และเซอร์เวอร์ทำงานได้เร็วชึ้น
10. Backup and Archiving: สุดท้ายอย่าลืมการบริหารเรื่องการสำรองข้อมูล และหากให้ดีควรจะเปิด archive logs เพื่อช่วยเก็บประวัติการอ่านเขียนข้อมูลอีกทั้ง ยังช่วยป้องกันข้อมูลตกหล่นได้ Regularly perform backups and archive logs to prevent performance degradation due to a lack of disk space.

Ittipat Itsun 17 ตุลาคม ค.ศ. 2023
แชร์โพสต์นี้
แท็ก
เก็บถาวร